(สรุปจากบทความ "เจาะลึกฝุ่น PM2.5 ด้วยข้อมูลย้อนหลัง 3 ปี ฝุ่นมาจากไหน เรารู้อะไรบ้าง" โดย พสิษฐ์ คงคุณากรกุล)
1. ข้อมูลปริมาณฝุ่น PM2.5 จากสถานีวัดของกรมควบคุมมลพิษ - โฟกัสช่วงเดือน พ.ย. ถึง ก.พ. (เป็นฤดูหนาว และเป็นช่วงวิกฤต PM2.5 ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล)
- ช่วง พ.ย. 63 – ม.ค. 64 : ปริมาณฝุ่น PM2.5 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง ส่วนใหญ่จะไม่เกินค่ามาตรฐานที่ 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มค./ลบ.ม.)
- แต่ช่วงกลางเดือน ม.ค. 64 ทุกพื้นที่ มีค่าฝุ่น PM2.5 เกินค่ามาตรฐาน เข้าสู่โซน ‘เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ’
- มี 7 สถานีวัด ที่มีปริมาณฝุ่นบางวัน แตะระดับ ‘มีผลกระทบต่อสุขภาพ’ (กรุงเทพฯ 3 จุด เช่น ริมถนนกาญจนาภิเษก เขตบางขุนเทียน และ ริมถนนดินแดง เขตดินแดง, สมุทรปราการ 3 จุด เช่น ต.ทรงคะนอง อ.พระประแดง และ ต.ปากน้ำ อ.เมืองสมุทรปราการ , และสมุทรสาครอีก 1 จุด คือ ต.มหาชัย อ.เมืองสมุทรสาคร)
2. ‘ค่ามาตรฐานเฉลี่ย 24 ชั่วโมง’ ของไทย กำหนดไว้ที่ 50 มก./ลบ.ม. ซึ่งควรปรับค่าให้เข้มงวดมากขึ้น เพื่อแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5
- กรมควบคุมมลพิษ ร่างประกาศเพื่อปรับ "ค่ามาตรฐาน 24 ชั่วโมง" จาก 50 มค./ลบ.ม. เป็น 37 มก./ลบ.ม. และปรับ "ค่ามาตรฐานรายปี" จาก 25 มก./ลบ.ม. เป็น 15 มก./ลบ.ม.
- ค่ามาตรฐานเดิมของไทยนั้นตัั้งเป้าหมายชั่วคราวระยะที่ 2 ขององค์การอนามัยโลก ส่วนค่าใหม่ตั้งตามเป้าหมายชั่วคราวระยะที่ 3
- หากค่ามาตรฐาน ถูกปรับลดเป็น 37 มก./ลบ.ม. ได้ สถานการณ์ฝุ่น PM2.5 จริงๆ จะยิ่งรุนแรงขึ้นอีก
3. ‘ปัจจัยที่สนับสนุนการสะสมตัวของฝุ่น’ ซึ่ง ‘ควบคุมไม่ได้’ ได้แก่ สภาพภูมิประเทศ และสภาพทางอุตุนิยมวิทยา
- ในช่วงฤดูหนาว ความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีน จะแผ่ลงมาปกคลุมตอนบนของประเทศ ทำให้ "ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ" มีกำลังแรงขึ้น
- แต่บางช่วง ความกดอากาศสูงนี้ มีกำลังอ่อนลง ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือก็อ่อนกำลังลงด้วย หรือเกิด ‘ลมสงบ’
- ประกอบกับมีปรากฏการณ์ผกผันกลับของอุณหภูมิ (Temperature Inversion) มีชั้นอากาศที่อุ่นกว่า (อาจจะพัดเข้ามาจากทิศใดทิศหนึ่ง หรือเกิดจากการคายความร้อนในเวลากลางคืนจากอาคารหรือสิ่งก่อสร้าง) มาแทรกอยู่ตรงกลางระหว่างชั้นอากาศเย็น ทำให้ฝุ่นควันไม่สามารถลอยผ่านขึ้นไปได้ การระบายในแนวดิ่งไม่ดี เป็น ‘ฝาชีครอบ’
- ลม จะส่งผลต่อการระบายฝุ่น PM2.5 ในรูปค่า ‘ดัชนีชี้วัดการระบาย’ (Ventilation Index) เป็นการคูณกันระหว่างความเร็วลมพื้นราบ กับระดับความสูงของชั้นบรรยากาศใกล้ผิวโลก (Planetary Boundary Layer , PBL) ถ้าดีทั้งสองปัจจัย การระบายฝุ่นก็จะดีมาก
- ส่วนฝน จะช่วยแก้ฝุ่น PM2.5 ได้ ก็ต้องตกเยอะ และต้องตกทั่วฟ้า ถ้าตกเป็นหย่อมๆ เช่น ขับเครื่องบินไปฉีดเป็นจุดๆ จะไม่ช่วยอะไรมาก (ความเห็นของ ศ. ดร. ศิวัช พงษ์เพียจันทร์ จาก NIDA)
4. "แหล่งกำเนิดฝุ่นที่ ‘ควบคุมได้’ ซึ่งมาจากมนุษย์" ได้แก่ การขนส่งทางถนน การเผาในที่โล่ง และโรงงานอุตสาหกรรม
- การศึกษาแหล่งกำเนิดฝุ่น มี 2 แนว ได้แก่ 1. การจัดทำบัญชีการระบายสารมลพิษ (Emission Inventory) ว่าเมืองนั้นๆ ผลิต PM2.5 จากแหล่งไหน เท่าใด และ 2. การจำแนกแหล่งกำเนิดฝุ่น (Source Apportionment) โดยการเก็บตัวอย่างฝุ่น PM2.5 ในบรรยากาศของเมืองที่จะศึกษา ไปวิเคราะห์องค์ประกอบ
- ผลการศึกษาของ AIT ปี พ.ศ. 2560 เก็บตัวอย่างฝุ่นจากดาดฟ้าอาคารในกรุงเทพฯ และปทุมธานี ในฤดูฝนและฤดูแล้ง ปรากฏว่า ในฤดูฝน ฝุ่น PM2.5 เกิดจากไอเสียรถดีเซล เป็นอันดับหนึ่ง / แต่ในฤดูแล้ง เกิดจากการเผาชีวมวล มากที่สุด / นอกจากนี้ ยังมี ‘ฝุ่นทุติยภูมิ’ (ซึ่งจากที่ก๊าซมลพิษเปลี่ยนสภาพกลายเป็นฝุ่นละอองขนาดเล็กมาก) และฝุ่นจากโรงงานอุตสาหกรรม และดิน อีกด้วย
- ปี พ.ศ. 2561 งานวิจัยของ AIT ทำบัญชีการระบายสารมลพิษ ระบุว่า แหล่งที่ปล่อยฝุ่นในกรุงเทพฯ และปริมณฑล มากที่สุดคือ การขนส่งทางถนน (72.5%) ตามมาด้วย โรงงานอุตสาหกรรม การเผาในที่โล่ง และอื่นๆ
- งานวิจัยของ รศ.ดร.สาวิตรี การีเวทย์ (พระจอมเกล้าธนบุรี) ได้ผลคล้ายกันคือ แหล่งที่ปล่อยฝุ่นมากที่สุดในกรุงเทพฯ และปริมณฑล คือการขนส่งทางถนน (50.79%) .. อย่างไรก็ตาม การเผาชีวมวลในที่โล่งจากจังหวัดอื่นๆ ในภาคกลางอาจจะมีฝุ่น ลอยเข้ามาในกรุงเทพฯ และปริมณฑลได้
- รศ.ดร.ศักดิ์สิทธิ์ เฉลิมพงศ์ (จุฬาฯ) เผยแพร่บทความวิจัย วิเคราะห์ผลการใช้ประโยชน์ที่ดิน ฤดูกาล การเผาในที่โล่ง และการจราจร ต่อระดับฝุ่น PM2.5 ในกรุงเทพฯ จากข้อมูลปี 2562 พบว่า การจราจร มีผลน้อยกว่าสภาพอากาศและการเผาชีวมวลในที่โล่ง
- เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง (มูลนิธิบูรณะนิเวศ) รายงานการพบสารไดออกซินปริมาณสูงในฝุ่นที่จับอยู่บนไข่ของไก่เลี้ยง (ไดออกซิน เป็นสารพิษที่เกิดจากกระบวนการเผาไหม้ การหล่อหลอมในอุตสาหกรรมต่างๆ) ทำให้เชื่อว่าภาคอุตสาหกรรมน่าจะมีส่วนกับฝุ่น PM2.5 ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล มากกว่าที่เห็น
- อรรถพล เจริญชันษา (อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ) เปิดเผยว่า สามารถใช้แบบจำลอง แยกแยะแหล่งกำเนิดฝุ่น "เฉพาะช่วงเวลา" ได้แล้ว เช่น ฝุ่นที่ก่อตัวในกรุงเทพฯ ก็จะเกิดจากภาคการจราจร แต่ในพื้นที่ปริมณฑลและมีจุดความร้อน ก็จะเกิดจากการเผาในที่โล่ง
5. กระนั้น เรายังขาดความรู้อยู่อีกมากเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดฝุ่นจิ๋ว เช่น ปริมาณ PM2.5 ที่มาจากภาคการจราจรนั้น มาจากดีเซล จากเบนซิน ต่างกันแค่ไหน , รถติด ส่งผลอย่างไรกับ PM2.5 ลงไปถึงระดับพื้นที่ ระดับถนน เป็น Google Map ที่พยากรณ์ PM2.5
- ศ. ดร. ศิวัช พงษ์เพียจันทร์ บอกว่า อยากให้สนใจสิ่งที่อยู่ในฝุ่น ที่ก่ออันตรายต่อร่างกาย อาทิ สารก่อมะเร็ง หรือโลหะหนัก มากกว่าปริมาณฝุ่น
「ค่ามาตรฐาน pm2.5 กรมควบคุมมลพิษ」的推薦目錄:
- 關於ค่ามาตรฐาน pm2.5 กรมควบคุมมลพิษ 在 อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ Facebook 的最佳貼文
- 關於ค่ามาตรฐาน pm2.5 กรมควบคุมมลพิษ 在 กรมควบคุมมลพิษ - Facebook 的評價
- 關於ค่ามาตรฐาน pm2.5 กรมควบคุมมลพิษ 在 บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน): การควบคุมคุณภาพอากาศ - pttplc 的評價
- 關於ค่ามาตรฐาน pm2.5 กรมควบคุมมลพิษ 在 คพ.เตือน ฝุ่น PM 2.5 มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น - YouTube 的評價
ค่ามาตรฐาน pm2.5 กรมควบคุมมลพิษ 在 บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน): การควบคุมคุณภาพอากาศ - pttplc 的推薦與評價
ในการควบคุมและแก้ปัญหามลพิษฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ซึ่งเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของภาคประชาสังคมนั้น หากพิจารณาจากแหล่งกำเนิดตามข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษพบ ... ... <看更多>
ค่ามาตรฐาน pm2.5 กรมควบคุมมลพิษ 在 คพ.เตือน ฝุ่น PM 2.5 มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น - YouTube 的推薦與評價
อากาศเย็นอ่อนกำลังลงไปแล้ว ทำให้ฝุ่นเริ่มกลับมาสะสมตัวจนเกินมาตรฐานอีกครั้ง ด้าน กรมควบคุมมลพิษ เตือน เฝ้าระวังฝุ่น PM 2.5 เกิน ค่ามาตรฐาน ไปจนถึง ... ... <看更多>
ค่ามาตรฐาน pm2.5 กรมควบคุมมลพิษ 在 กรมควบคุมมลพิษ - Facebook 的推薦與評價
กรมควบคุมมลพิษ. 4 วัน. ฤดูหนาว ทำไมฝุ่นสูง❄️❄️ โดยปกติแล้วค่าฝุ่น PM2.5 จะสูงในช่วงการเปลี่ยนฤดูกาล จากฤดูหนาวไปสู่ฤดูร้อน ... <看更多>